วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สเต๊ก หรือ สเต็ก?


Burinkinkao_Ribeye_Steak_Bangkok
Ribeye Steak @Burinkinkao, Bangkok

. . . ส เ ต๊ ก . . .

คือ วิธีการสะกดที่ถูกต้องโดยใช้ไม้ตรี (เลข ๗) ถ้าเขียน สเต็ก ใช้ไม่ไต่คู้ (เลข ๘) ถือว่าสะกดผิดนะครับ

ชาวไทยต่างคุ้นเคยกับสเต๊กเป็นอย่างดี แต่หลายคนคงยังไม่รู้ที่มาของสเต๊ก วันนี้บุรินทร์กินข้าวได้รวบรวมประวัติย่อๆ ของสเต๊กมาฝากครับ

Steak หรือ สเต๊ก มาจากภาษาสแกนดิเนเวียน Steik ตั้งแต่สมัยกลางศตวรรษที่ 15 ซึ่งปัจจุบันพจนานุกรม Oxford ได้ให้ความหมายของคำว่า Steak ว่าคือชิ้นเนื้อหนาๆ ที่ถูกตัดแบ่งเพื่อนำไปย่าง ปิ้ง หรือทอด บางครั้งก็นำเนื้อสเต๊กไปใช้ทำพายหรือพุดดิ้งได้ด้วย

ส่วนมากสเต๊กจะทานคู่กับมันบดหรือมันอบ ผักสลัด และเฟรนช์ฟรายส์ สำหรับสเต๊กเนื้อวัว🐮นั้นหลายๆ ชอบทานสุกหรือดิบต่างกันแล้วแต่ความชอบส่วนตัว ดังนั้นระดับความสุกของสเต๊กเนื้อจึงมีหลายระดับ ซึ่งหากลูกค้าไม่รีเควสระดับความสุก ร้านอาหารก็จะเสิร์ฟแบบสุกปานกลาง (Medium) ให้เพื่อไม่ให้เนื้อดิบเลือดซิบเกินไป หรือสุกจนแห้งเกินไป

สำหรับระดับความสุกของสเต๊ก แบ่งออกเป็น Rare/ Medium-rare / Medium / Medium-well / Well-done ซึ่งจะกล่าวในบทความถัดไป นอกจากนี้ยังมีทาร์ทาร์ Tartar หรือเนื้อดิบบดปรุงรสซึ่งที่นิยมทานกับไข่ดิบ เป็นต้น

เรียบเรียงโดย: Burinkinkao Burger & Steak, Bangkok
ที่มา:

  • Merriam-Webster. Merriam-Webster, Inc. 2014. 
  • https://affotd.com/2011/01/31/delicious-steak/

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เส้นสปาเก็ตตี้แบบ Al Dente อัลเดนเต้ คืออะไร?

"เส้นพาสต้าคุณ Al Dente พอดีมาก..." หลายๆคนคงสงสัยเวลาดูรายการแข่งขันทำอาหารแล้วเชฟกรรมการพูดคำนี้หลังจากชิมจานเด็ดจบ ดังนั้นบุรินทร์กินข้าวจะมาทุกคนมารู้จักกับคำนี้กัน

Al Dente ออกเสียงว่า อัลเดนเต้ เป็นภาษาอิตาเลียนหมายความว่า To the Tooth คือเทคนิคการปรุงเส้นพาสต้าที่ไม่สุกแบบ 100% โดยเส้นภายนอกนุ่มแต่คงเหลือความดิบในแกนกลางของเส้นเพื่อให้ตอนเคี้ยวเกิดสัมผัสกรุบๆ เส้นไม่เละ และเพื่อรักษารสชาติของเส้นตามคำกล่าวที่ว่า


"The less you cook any pasta, the more flavour it will have"
                                                                    
                                                                        - Edward Behr -

สปาเก็ตตี้_กรุงเทพ_บุรินทร์กินข้าว


อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ส่วนตัว คนไทยส่วนมากยังไม่ชินกับการปรุงเส้นพาสต้าแบบนี้ (เช่นเดียวกับที่ไม่คุ้นเคยกับคำว่าพาสต้า แต่จะคุ้นเรียกเหมาๆทุกเส้นว่าสปาเก็ตตี้มากกว่า ซึงบุรินทร์กินข้าวจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ในตอนต่อไป) ปกติที่ร้านอาหารเล็กๆของเราจะผัดเส้นสปาเก็ตตี้แบบอัลเดนเต้ แต่มีหลายท่านนึกว่าเส้นไม่สุกบ้าง และมักจะขอเส้นนิ่มๆ (จนเกือบเละ) ก็มี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ซึ่งร้านอาหารถ้าพิถีพิถันหน่อยก็อาจจะถามลูกค้าก่อนว่าชอบเส้นนิ่มเส้นแข็ง จะได้ทำจานนั้นออกมาให้ถูกใจอร่อยฟินกันไปครับ :)

เรียบเรียงโดย: Burinkinkao Burger & SteakBangkok
ข้อมูลจาก: หนังสือ 50 Foods: The Essentials of Good Taste โดย Edward Behr

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ประวัติ...แฮมเบอร์เกอร์ I History of Hamburger

เบอร์เกอร์_กรุงเทพ
Triple Cheese Beef Burger
แฮมเบอร์เกอร์ หรือเรียกสั้นๆติดปากกันว่า เบอร์เกอร์ หลายคนคงไม่รู้ว่าเจ้าอาหารยอดฮิตมีที่มาอย่างไร วันนี้บุรินทร์กินข้าวจะพามารู้จักกับเจ้าขนมปังประกบเนื้อนี้กัน

ในอดีตพบว่ามีการกินเนื้อบดมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณเมื่อหลายพันปีก่อน เช่นเดียวกับในมองโกเลีย ในปี ค.ศ. 1238 หลานชายจองเจงกิสข่านชื่อ Khubilai Khan รุกรานเมืองมอสโก (Moscow) ของรัสเซียในปี  ในขณะเดียวกันก็นำเนื้อบดสูตรเฉพาะของมองโกเลียติดไปด้วยและกลายเป็นที่แพร่หลายในรัสเซียในชื่อเนื้อสเต็กทาทาร์ (Steak Tartare) ซึ่งทาทาร์คือชื่อเรียกชาวมองโกลนั่นเอง และในภายหลังเชฟชาวรัสเซียได้ประยุกต์ผสมหัวหอมสับและไข่ดิบผสมลงไปในทาทาร์ด้วย

ในยุคศตวรรษที่ 15 เนื้อวัวบดกลายอาหารที่มูลค่าและแพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรป และเนื้อวัวบดยังถูกนำมาทำเป็นไส้กรอกในหลายๆประเทศทั่วยุโรปอีกด้วย จนกระทั่งศตวรรษที่ 16 เรือเยอรมันจากท่าเรือฮัมบูร์ก (Hamburg) เดินทางไปที่ท่าเรือรัสเซียและได้นำทาทาร์กลับมาที่เยอรมนีด้วย

เยอรมนีกลายเป็นศูนย์กลางท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรปในปลายศตวรรษที่ 18 กะลาสีและชาวเรือหลายๆคนที่เดินเรือระหว่างเมืองฮัมบูร์ก-นิวยอร์ก (New York) นิยมซื้อเนื้อบดทาทาร์นี้ในชื่อของ เนื้อฮัมบูร์ก (Hamburg Steak) และนำไปปรุงอาหารในหลายๆแบบ โดยเฉพาะที่ท่าเรือนิวยอร์คได้ประยุกต์ทำอาหารให้กะลาสีและชาวเรือสามารถยืนกินง่ายๆ จึงเป็นที่มาของชื่อ สเต็กฮัมบูร์ก (Hamburg Steak)

ต่อมาชาวเยอร์มันอพยพเข้าไปในสหรัฐอเมริกามากขึ้นและได้นำเนื้อบดขึ้นชื่อนี้ตามไปด้วย แต่การปรุงใช้เนื้อวัวคุณภาพต่ำผสมด้วยเครื่องเทศท้องถิ่น มีทั้งแบบปรุงทั้งสุกและดิบ จึงกลายเป็นอาหารของคนชนชั้นล่าง อย่างไรก็ตามในเยอรมนีไม่ได้เรียกเนื้อบดนี้ด้วยชื่อสเต็กฮัมบูร์กแล้ว แต่เรียกว่า Frikadelle Frikandelle หรือ Bulette (มาจากภาษาอิตาเลียนและฝรั่งเศส)

ในศตวรรษที่ 18 เครื่องบดเนื้อถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกา และมีการพัฒนาใช้แม่พิมพ์ทำให้เนื้อบดเป็นแผ่นๆกลมๆ หรือเรียกว่า Patty เพื่อความสะดวกในการทำอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ในปลายศตวรรษช่วง ค.ศ. 1871-1884 ร้านอาหาร Clipper ใน San Fernando ได้เพิ่ม Hamburg Beefsteak ในเมนูอาหารของร้านซึ่งมีราคาเพียง 10 เซนต์ หรือประมาณ 3 บาทเท่านั้น เนื้อแฮมบูร์กถูกดัดแปลงไปตามแต่ละสไตล์ของร้านอาหาร เช่น นำไปผสมกับตับและไขกระดูก เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในปี 1906 ชาวอเมริกันต่างลดการบริโภคเนื้อ เนื่องจากไม่ไว้ใจโรงงานบรรจุเนื้อสัตว์ในชิคาโกที่ไม่ถูกสุขลักษณะตามที่เขียนในนวนิยายชื่อ The Jungle แต่งโดย Upton Sinclair ซึ่งทำให้ซินแคลร์แปลกใจอย่างมากที่ผู้อ่านสนใจประเด็นนี้แทนเนื้อในนิยายของเขา

ร้านอาหารในอเมริกาในอดีตเสิร์ฟเนื้อแฮมบูร์กบนขนมปังหรือประกบด้วยขนมปังแซนด์วิช ซึ่งยังคงไม่มีที่มาที่ชัดเจนว่าใครเป็นคนแรกเริ่มเสิร์ฟเจ้าแฮมเบอร์เกอร์นี้ แต่ที่แน่ชัดคือแฮมเบอร์เกอร์กลายเป็นอาหารที่แพร่หลายตั้งแต่ปี 1904 ที่งาน World's Fair หรืองาน Louisiana Purchase Exhibition ในรัฐมิสซูรี (Missouri) โดยนักข่าวรายงานเกี่ยวกับแซนด์วิชแบบใหม่ที่ชื่อ Hamburger ว่าเป็นนวัตกรรมชิ้นเอกของอาหารรถเข็นเลยทีเดียว

ส่วนที่มาของชีสเบอร์เกอร์ (Cheeseburger) นั้นยังคงเป็นข้อถกเถียงกันว่าอาจจะมาจาก Denver แห่งรัฐ Colorado เมือง Louisville รัฐ Kentucky หรือเมือง Pasadena รัฐ California

เรียบเรียงโดย: Burinkinkao Burger & Steak, Bangkok
ข้อมูลจาก: https://whatscookingamerica.net/History/HamburgerHistory.htm

สเต๊ก หรือ สเต็ก?

Ribeye Steak @Burinkinkao, Bangkok . . . ส เ ต๊ ก . . . คือ วิธีการสะกดที่ถูกต้องโดยใช้ไม้ตรี (เลข ๗) ✔  ถ้าเขียน สเต็ก ใช้ไม่ไต่คู้...

สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาหารอื่นๆ